วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เอกสารประกอบการรายงานตัว 90 วัน กรณีต่างด้าวดำเนินการด้วยตนเอง


การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน กรณีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร
วิธีการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวเมื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน
  1. คนต่างด้าวดำเนินการแจ้งด้วยตนเอง หรือ
  2. คนต่างด้าวมอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือไปแจ้ง หรือ
  3. คนต่างด้าวอาจมีหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (เหมาะสำหรับแรงงานประเภทคนงานรับใช้ในบ้าน) หรือ
  4. เข้าร่วมโครงการระบบการแจ้งที่พัก 90 วันของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (ลาว กัมพูชา และพม่า)ในเขตกรุงเทพมหานคร  ผ่านการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี (เหมาะสำหรับนายจ้าง/ผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก) 
เอกสารประกอบการรายงานตัว 90 วัน กรณีต่างด้าวดำเนินการด้วยตนเอง
    1. หนังสือเดินทาง (Passport) ดูตัวอย่าง
    2.แบบฟอร์ม ตม. 47 (กรอกข้อความให้ครบถ้วน: ชื่อ - ชื่อสกุลให้กรอกเป็นภาษาอังกฤษ ดูตัวอย่าง
    ยกเว้น:
    ที่อยู่ให้กรอกข้อความเป็นภาษาไทยให้ละเอียดที่สุด, ช่องเบอร์โทรศัพท์ กรุณากรอกเบอร์โทรศัพท์ของนายจ้างที่สามารถติดต่อได้)
    **** ให้แรงงานต่างด้าว พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวาในแบบฟอร์ม ตม. 47 และในบัตร ตม.6 ด้วย****
    3. ใบแจ้งกำหนดนัดรายงานตัว ดูตัวอย่างใบรับแจ้ง
    4. หลักฐานการทำงาน (ให้นำเอกสารต่อไปนี้มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่จะคืนเอกสารดังกล่าวให้หลังจากดำเนินการแจ้ง 90 วัน เสร็จสิ้น)
    4.1 กรณีได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว ให้แสดงใบอนุญาตทำงานที่กระทรวงแรงงานออกให้ (บัตรเขียว) ดูตัวอย่าง หรือ
    4.2 กรณีที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตทำงานให้นำเอกสารต่อไปนี้มาแสดง
    - ใบรับคำขอใช้แทนใบอนุญาตทำงานชั่วคราว จากกระทรวงแรงงาน ดูตัวอย่าง
    - ใบเสร็จรับเงิน ดูตัวอย่าง
    - ทร.38/1 ดูตัวอย่าง
    - กรณีเปลี่ยนนายจ้าง ให้นำใบโควตาของนายจ้างปัจจุบันมาแสดง ดูตัวอย่าง

    หมายเหตุ
    :          
    1. คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ ก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด(ตามคำสั่งสตม.ที่ 222/2553 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2553)
    2. หากเกินกำหนดนัด หรือเกินกำหนดที่จะต้องแจ้งคนต่างด้าวต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาทและปรับอีกวันละไม่เกินวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
    3. กรณีคนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้มารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไป เมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ครั้งสุดท้าย
    *****การรายงานตัวในครั้งแรก แรงงานต่างด้าว หรือนายจ้าง ควรจะมาดำเนินการด้วยตนเอง*****
เอกสารประกอบการรายงานตัว 90 วัน กรณีแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
  1. สำเนาหนังสือเดินทางทุกหน้า(ถึงหน้าที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรครั้งสุดท้าย หรือหน้าที่ได้รับการตรวจลงตราครั้งสุดท้าย)
  2. สำเนาบัตร ตม.6 ขาออก หน้า-หลัง (TM.6) ดูตัวอย่างบัตร ตม.6
  3. ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน90 วันมาแล้ว) ดูตัวอย่างใบรับแจ้ง
  4. กรอกรายละเอียดใน แบบฟอร์ม ตม. 47(กรอกข้อความให้ครบถ้วน: ชื่อ - ชื่อสกุลให้กรอกเป็นภาษาอังกฤษ
    ดูตัวอย่าง
    ยกเว้น: ที่อยู่ให้กรอกข้อความเป็นภาษาไทยให้ละเอียดที่สุด, ช่องเบอร์โทรศัพท์ ให้กรอกเบอร์โทรศัพท์ของนายจ้าง และลูกจ้าง)
  5. หลักฐานการทำงาน
  6. 5.1 กรณีได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว ให้สำเนาใบอนุญาตทำงานที่กระทรวงแรงงานออกให้ (บัตรเขียว) ดูตัวอย่าง โดยจะต้องยังไม่หมดอายุ หรือ  
    5.2 กรณีที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตทำงาน ให้สำเนาเอกสารต่อไปนี้
    5.2.1 ใบรับคำขอจากกระทรวงแรงงาน ที่ยังไม่ถึงกำหนดวันนัดรับบัตรอนุญาตทำงาน (หากถึงกำหนดแล้วท่านจะต้องไปรับบัตรอนุญาตทำงาน ถ้ายังไม่ได้บัตรอนุญาตทำงาน (บัตรเขียว) ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่แรงงานฯ เพื่อเลื่อนวันนัดรับมาให้เรียบร้อย) ดูตัวอย่างเอกสาร
    5.2.2 ใบเสร็จรับเงินจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ดูตัวอย่าง
    5.2.3 ทร. 38/1 ดูตัวอย่าง
  7. ซองจดหมายพร้อมติดแสตมป์ 5 บาท จ่าหน้าซองถึงคนต่างด้าว เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้จัดส่งใบนัดส่วนล่างของแบบ ตม.47 เมื่อรับแจ้งอยู่เกิน 90 วัน แล้ว พร้อมแบบ ตม.47 เพื่อใช้แจ้งอยู่เกิน 90 วันในครั้งต่อไป
  8. นำเอกสารตามข้อ 1-6 ใส่ซองและจัดส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียน ก่อนวันครบกำหนดการแจ้ง(ตามใบนัด) 10 วัน ทั้งนี้คนต่างด้าวจะต้องเก็บหลักฐานการลงทะเบียนไว้ โดยจ่าหน้าซองมาที่
  9. งานรับแจ้งที่พักอาศัย (แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ลาว กัมพูชา และพม่า)
    กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
    507  ซอยสาทร 3 (สวนพลู) ถนนสาทรใต้ 

    แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    หมายเหตุ:
    1. ให้แรงงานต่างด้าว พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวาในแบบฟอร์ม ตม. 47 และในบัตร ตม.6 ด้วย
    2. การรายงานตัวในครั้งแรก แรงงานต่างด้าว หรือนายจ้าง ควรจะมาดำเนินการด้วยตนเอง
    3. การรับแจ้งที่พักอาศัย กรณีคนต่างด้าวอยู่เกิน 90 วัน มิใช่ เป็นการขออยู่ต่อในราชอาณาจักร
    4. คนต่างด้าวผู้ใดอยู่เกินกว่า 90 วัน ไม่แจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งช้ากว่าที่กำหนด ต้องมารายงานตัวด้วยตนเอง และเสียค่าปรับ
    5. เมื่อคนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เมื่อเดินทางกลับมาให้เริ่มนับเวลา 90 วันใหม่ทุกกรณี
โครงการ ระบบการแจ้งที่พัก 90 วันของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (ลาว กัมพูชา และพม่า)
ในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี
วิธีการดำเนินการ

    1. ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการแจ้งความประสงค์กับกองกำกับการ2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 เพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ
    2. เมื่อลงทะเบียนแล้ว กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 จะมอบตัวอย่างวิธีการกรอกข้อมูลคนต่างด้าวให้กับผู้ลงทะเบียน (รูปแบบการกรอกข้อมูล กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 เป็นผู้ออกแบบ)
    3. ให้ผู้ลงทะเบียนทำหนังสือนำเรียน ผู้บังคับการ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 พร้อมแนบแผ่นซีดีที่บันทึกข้อมูลบุคคลต่างด้าว และเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องของคนต่างด้าว มายื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนครบกำหนดรายงานตัว 90 วัน
    4. กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ตรวจสอบความถูกต้อง และความเรียบร้อยของเอกสาร หลังจากนั้นจึงออกใบนัดเพื่อรับคืนเอกสารให้กับผู้ลงทะเบียน
    5. ผู้ลงทะเบียนรับเอกสารคืนตามกำหนดนัด

    ตัวอย่างหนังสือขอเข้าร่วมโครงการ
    ตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูล 90 วัน Offline  
หมายเหตุ: 
  • คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ ก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด(ตามคำสั่งสตม.ที่ 222/2553 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2553)
  • หากเกินกำหนดนัด หรือเกินกำหนดที่จะต้องแจ้งคนต่างด้าวต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาทและปรับอีกวันละไม่เกินวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • กรณีคนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้มารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไป เมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ครั้งสุดท้าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น